วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ความหมายของปรัชญาคิดเป็น

ความหมายของคิดเป็น
คิดเป็น มีความเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนต้องการความสุข แต่ความสุขของแต่ละคนแตกต่างกันเนื่องจากมนุษย์มีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ เช่น เพศ วัย สภาพสังคมสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ซึ่งทำให้ความต้องการและความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  การ คิดเป็นเป็นการคิดเพื่อแก้ปัญหา คือ มีจุดเริ่มต้นที่ปัญหาแล้วพิจารณาย้อนไตร่ตรองถึงข้อมูล 3 ประเภท คือ ข้อมูลด้านตนเอง ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และข้อมูลวิชาการ ต่อจากนั้นก็ลงมือกระทำ ถ้าหากสามารถทำให้ปัญหาหายไป กระบวนการก็ยุติลง แต่หากบุคคลยังไม่พอใจแสดงว่ายังมีปัญหาอยู่ บุคคลก็จะเริ่มกระบวนการพิจารณาทางเลือกใหม่อีกครั้ง และกระบวนการนี้ยุติลงเมื่อบุคคลพอใจและมีความสุขความเชื่อพื้นฐานของปรัชญา คิดเป็น

การจัดการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้


ความหมายของภูมิปัญญาไทย
            จากการศึกษาความหมายที่ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการต่างๆ ซึ่งครอบคลุมคำว่า ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย ได้ให้ความหมายพอสรุปได้ ดังนี้
            ภูมิปัญญาพื้นบ้านหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสมและสืบทอดกันมา อันเป็นความสามารถและศักยภาพในเชิงแก้ปัญหา การปรับตัวเรียนรู้และสืบทอดไปสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อการดำรงอยู่รอดของเผ่าพันธุ์จึงตกทอดเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมของธรรมชาติ เผ่าพันธุ์ หรือเป็นวิธีของชาวบ้าน (ยิ่งยง เทาประเสริฐ)

ความหมาย ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้

ความหมายของแหล่งเรียนรู้
            แหล่งเรียนรู้ หมายถึง ถิ่นที่อยู่ บริเวณ ศูนย์รวม บ่อเกิด แห่ง หรือที่ ที่มีสาระเนื้อหาเป็นข้อมูลความรู้หรือเรียกว่า องค์ความรู้ที่ปรากฏอยู่รอบตัวของมนุษย์ เพื่อได้รับข้อมูลความรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ ทั้ง หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจแล้ว จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ และรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้
ความสำคัญและประโยชน์ของแหล่งเรียนรู้
            แหล่งเรียนรู้มีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ ในยุคความรู้ของมนุษย์เกิดขึ้นใหม่ๆ และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนี้
            1. เป็นแหล่งที่มีสาระเนื้อหาที่เป็นข้อมูลความรู้ ให้มนุษย์เกิดโลกทัศน์ที่กว้างไกลกว่าเดิมช่วยให้เกิดความสนใจในเรื่องสำคัญ ช่วยยกระดับความทะเยอทะยานของผู้ศึกษา จากการนำเสนอสาระความรู้ หรือภาพในอุดมคติ หรือเสนอผลสำเร็จและความก้าวหน้าของงาน หรือชิ้นงาน หรือเทคโนโลยี หรือบุคคลต่างๆของแหล่งเรียนรู้
            2. เป็นสื่อการเรียนรู้ การเรียนรู้สมัยใหม่ที่ให้ทั้งสาระ ความรู้ ก่อให้เกิดทักษะและช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้นมากยิ่งขึ้น

ทฤษฎีการเรียนรู้


           
ทฤษฎีการ เรียนรู้ทางจิตวิทยาอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
            1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory) ทฤษฎีในกลุ่มนี้ อธิบายว่า การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า กับ การตอบสนอง ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก หรือแบบสิ่งเร้าและ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ

            2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory) ทฤษฎีในกลุ่มนี้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีต ที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่าง ประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จาเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) มากกว่า การวางเงื่อนไข เพื่อให้เกิด พฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทฤษฎี การเรียนรู้ปัญญาทางสังคม การเรียนรู้แบบการหยั่งรู้ เป็นต้น

ความหมายของการเรียนรู้ (Learning)


เป็นคำที่ใช้ในศาสตร์ทางจิตวิทยาเมื่อมาใช้คู่กับการสอน จะเรียกสั้นๆ ว่า การเรียน คำว่าการเรียนรู้หรือการเรียนมีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ คณาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา (2532 : 203) ให้ความหมายว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองบ่อยครั้งเข้า จนในที่สุดกลายเป็นพฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นมาอย่างถาวร จิตรา วสุวานิช (2531 : 70) อธิบายความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลของปฏิกิริยาตอบสนองที่มีต่อสิ่งเร้า
            การเรียนรู้ยังหมายถึงการปรับปรุง และการปรับปรุงที่เกิดนั้นอาจจะมีคุณค่าในทางที่ดีขึ้น หรือไม่ก็อาจเป็นได้ ฮิลการ์ด (Hilgard 1975 : 194) ให้ความหมายไว้ว่า การเรียนรู้ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมโดยการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จากความหมายของการเรียนรู้ที่ยกมากล่าวข้างต้น ผู้เรียน เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้ประสบการณ์หรือการฝึกหัด เกิดการเรียนรู้ พฤติกรรมที่ถาวร องค์ประกอบของการเรียนรู้. องค์ประกอบของการเรียนรู้มีดังนี้ (กฤษณา ศักดิ์ศรี 2530 : 481-482)

จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้


พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้าน ดังนี้
            1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินผล
            2. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain ) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
            3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ

ความหมาย ความสำคัญของการเรียนรู้



นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
            คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
            ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกิริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ "
            คอนบาค ( Cronbach ) "การเรียนรู้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "