วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ความหมายของการเรียนรู้ (Learning)


เป็นคำที่ใช้ในศาสตร์ทางจิตวิทยาเมื่อมาใช้คู่กับการสอน จะเรียกสั้นๆ ว่า การเรียน คำว่าการเรียนรู้หรือการเรียนมีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ คณาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา (2532 : 203) ให้ความหมายว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองบ่อยครั้งเข้า จนในที่สุดกลายเป็นพฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นมาอย่างถาวร จิตรา วสุวานิช (2531 : 70) อธิบายความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลของปฏิกิริยาตอบสนองที่มีต่อสิ่งเร้า
            การเรียนรู้ยังหมายถึงการปรับปรุง และการปรับปรุงที่เกิดนั้นอาจจะมีคุณค่าในทางที่ดีขึ้น หรือไม่ก็อาจเป็นได้ ฮิลการ์ด (Hilgard 1975 : 194) ให้ความหมายไว้ว่า การเรียนรู้ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมโดยการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จากความหมายของการเรียนรู้ที่ยกมากล่าวข้างต้น ผู้เรียน เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้ประสบการณ์หรือการฝึกหัด เกิดการเรียนรู้ พฤติกรรมที่ถาวร องค์ประกอบของการเรียนรู้. องค์ประกอบของการเรียนรู้มีดังนี้ (กฤษณา ศักดิ์ศรี 2530 : 481-482)


1. แรงขับ (Drive) มี 2 ประเภท คือ แรงขับปฐมภูมิ (primary Drive) เช่น ความหิวกระหาย แรงขับทุติยภูมิ (secondary Drive) เป็นเรื่องของความต้องการทางจิตใจและสังคม เช่น ความวิตกกังวล ความต้องการความรัก ความปลอดภัย ฯลฯ แรงขับทั้งสองประเภท มีผลให้เกิดปฏิกิริยา อันจะนาไปสู่การเรียนรู้
2. สิ่งเร้า (stimulus) เป็นตัวการทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมา และเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมว่าจะแสดงอาการตอบสนองออกมาในลักษณะใด สิ่งเร้าอาจเป็นเหตุการณ์หรือวัตถุ และอาจเกิดภายในหรือภายนอกร่างกายก็ได้ เช่น เสียงนาฬิกาปลุกเราให้ตื่น กำหนดวันสอบเร้าให้เตรียมตัวสอบ
3. อาการตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่แสดงออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้น จากสิ่งเร้า หรือพูดว่า คือ ผลทางพฤติกรรมของสิ่งเร้า เป็นการกระทำของรางกาย และอาจเป็นได้ชัดหรือไม่ชัดก็ได้ ซึ่งมักจะเกิดตามหลังสิ่งเร้าเสมอ
4. สิ่งเสริมแรง (Reinforcement) คือ สิ่งที่มาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับอาการตอบสนอง เช่น รางวัล การทาโทษ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้มากอาจแบ่งสิ่งเสริมแรงออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
4.1 สิ่งเสริมแรงปฐมภูมิ เป็นสิ่งเสริมแรงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และบาบัด ความต้องการ หรือลดแรงขับโดยตรง เช่น อาหารเป็นสิ่งเสริมแรงแก่บุคคลที่กำลังหิว
4.2 สิ่งเสริมแรงทุติยภูมิ เช่น เงิน ชื่อเสียง นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบด้านอื่นอีก เช่น ความพร้อม ความสนใจ การจูงใจ ระดับสติปัญญา การฝึก การทำซ้ำ สภาพจิต สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามทรรศนะของนักจิตวิทยา อย่างไรก็ตาม

            กล่าวสรุปได้ว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบทั้ง 4 นี้เป็นอย่างน้อย ได้แก่ แรงขับ สิ่งเร้า การตอบสนอง และสิ่งเสริมแรง จุดมุงหมายหลักของสถานศึกษา อยู่ที่การจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดและการดาเนินการด้านการเรียนการสอนจะเป็นไปได้ด้วยดี ก็ด้วยการวางแผนการบริหารงานด้วย การจัดทำแผนการเรียนการสอนที่เอื้อต่อผู้เรียนด้วย และเอื้อต่อหลักสูตร โดยอาศัยความร่วมมือของบุคลากรในสถานศึกษา โดยเฉพาะครูอาจารย์ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญ ที่จะทำให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ. สรุป การศึกษา คือ การสร้างสมและการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ของมนุษย์ เพื่อการแก้ปัญหา และยังให้เกิดความเจริญ การศึกษามีความจำเป็นต่อเนื่อง และต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบการอยู่เสมอ การศึกษามีความหมายกว้างไกล และลึกกว่าการเรียนหนังสือและการไปโรงเรียน การศึกษาก่อให้เกิดพุทธิปัญญา จิตใจ สังคม และพลานามัย การศึกษาดาเนินอยู่เป็นล่ำเป็นสันในสถานศึกษา การศึกษาไม่ใช่การเรียนรู้เพื่อหาวิชา แต่เป็นการเป็นการเรียนเพื่อให้เกิดความคิด การศึกษาการเป็นการโน้มน้าวทำให้บุคคลเกิดความประจักษ์ใจ และพัฒนาความสามารถของตนเองให้รู้ว่า ตนทำอะไรได้มากกว่าการฝึกอาชีพเฉพาะอย่าง สังคมไทยที่พึงประสงค์ ผลจากการระดมความคิดของประชาชนทั่วประเทศ ได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมของสังคมไทยที่พึงประสงค์ในอนาคต เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างคุณค่าที่ดีในสังคมไทย บนพื้นฐานของการอนุรักษ์วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของความเป็นไทย โดยมุ่งพัฒนา สังคมไทยสู่ สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพใน 3 ด้าน คือ (1) สังคมคุณภาพที่ยึดหลักความสมดุล พอดี และพึ่งตนเองได้ โดยการสร้างคนดีคนเก่ง มีวินัย เคารพกฎหมาย และมีความรับผิดชอบ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน พัฒนาเมืองและชนบทให้มีความน่าอยู่ มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ดีมีระบบการเมืองการปกครองที่โปร่งใสมีกระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งของประชาชน และมีความเป็นธรรมในสังคม (2) สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้โดยพัฒนาคนให้คิดเป็น ทำเป็นเรียนรู้ตลอดชีวิต มีเหตุผล และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มีการเสริมสร้างฐานทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีนวัตกรรมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสร้างทุนทางปัญญา เพื่อเพิ่มขีด ความสามารรถในการเข่งขันของประเทศ ควบคู่ไปกับการสืบสานประเพณี วัฒนธรรมศาสนาและรักภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม (3) สังคมสมานฉันท์ และเอื้ออาทรต่อกันที่มีการดารงไว้ซึ่งคุณธรรม และคุณค่าของสังคมไทยที่พึ่งพาเกื้อกูลกันมีการคูแลกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและคนยากจนรักษาไว้ ซึ่งสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันหลักของสังคม และพัฒนาเครือข่ายชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อความอยู่ดีมีสุขของคนไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น